MLR MRR MOR คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ

MLR MRR MOR คืออะไร

สำหรับการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สิ่งที่ท่านต้องรับทราบในเรื่องการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ นั่นก็คือดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ในหลายๆครั้งสินเชื่อบางประเภทโดยเฉฑษธ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ มักมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ที่มีชื่อเรียกอาทิเช่น MLR ,MRR , MOR ที่มักจะปรากฏอยู่พร้อมการบวก หรือ ลบ ด้วยค่าตัวเลขดังนั้นวันนี้ moneydever จะมาแนะนำท่านไปรู้จักความหมาย MLR MRR MOR คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ

MLR MRR MOR คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ

MLR MRR MOR คืออะไร

ก่อนที่ท่านจะไปกู้เงินสิ่งที่ท่านความทราบสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะความหมายของ MLR ,MRR , MOR ที่ปรากฏในการคำนวณดอกเบี้ยกันว่า หมายถึงอะไร เพื่อความเข้าใจก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อ สำหรับ ดอกเบี้ยเงินกู้ หมายถึง ผลตอบแทนที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้ขอกู้ หากเราไปกู้เงิน หรือขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินนั้นๆ คือผู้ให้กู้ ที่สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยจากเราได้ โดยเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย มักคิดเป็นร้อยละต่อปี โดยแบ่งลักษณะของดอกเบี้ยเงินกู้มี 2 ลักษณะดังนี้

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่

  • ดอกเบี้ยอัตราเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้อัตราเดียวตลอดอายุสัญญาเงินกู้ หรือในช่วงเวลาที่กำหนด

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว

  • ดอกเบี้ยอัตราเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน โดยมักมีค่าอ้างอิงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ค่าอ้างอิงต่างๆ ได้แก่ MLR MOR MRR

ความหมายของ MLR RR MOR

MLR MRR MOR คืออะไร

  • MLR ย่อมาจาก Minimum Loan Rate หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
  • MOR ย่อมาจาก Minimum Overdraft Rate หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี จึงทำให้ธนาคารจึงต้องเข้มงวดในการพิจารณาผู้กู้ ทั้งคุณสมบัติของผู้กู้ ประวัติทางการเงิน และหลักทรัพย์ประกัน
  • MRR ย่อมาจาก Minimum Retail Rate หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ตัวอย่างคือ ธนาคารให้กู้เงินซื้อบ้านในวงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25% (MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5% (MLR + 1%) เป็นต้น

สรุปโดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย ซึ่งสามารถศึกษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR MOR และ MRR ได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีคิดดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งเป็น 2 วิธีดังนี้

MLR MRR MOR คืออะไร

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ หรือ Flat Rate : สำหรับการคิดดอกเบี้ยวิธีนี้มีวิธีคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งก้อนตั้งแต่เริ่มทำสัญญา และนำไปหารจำนวนงวดทั้งหมดที่ต้องผ่อนชำระ ฉะนั้นแม้ผ่อนชำระจนเงินต้นลดลงแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลงตาม โดยตัวอย่างวิธีคิดตามตัวอย่างเช่น

  • ท่านทำการกู้เงินมา 10,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 13% ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 1,300 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 13,000 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,083.4 บาท

สูตรการคำนวณคือ

  • ” เงินกู้ X เปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยคงที่ ต่อปี = ดอกเบี้ยทั้งหมด ”  ( 10,000 X 13% = 1,300 บาท )
  • ” เงินดอกเบี้ยทั้งหมด ÷ 12 เดือน = หนี้ที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ” ( 13,000 ÷ 12 = 1,083.4 บาท )

ดังนั้นการเลือกผ่อนแบบนี้มีขอเสียคือ หากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดได้เงินก้อนขึ้นมาอยากรีบปิดหนี้ ท่านก็ไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้เพราะ ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด โดยปกติการคิดดอกเบี้ยแบบนี้จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบเป็นต้น

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก หรือ Effective Rate : สำหรับการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือที่แท้จริงในแต่ละงวด ทำให้ดอกเบี้ยที่ถูกนำมาคำนวณในงวดถัดไปลดลงโดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด​​​​​ แบ่งได้ เป็น 2 กรณีดังต่อไปนี้

กรณีทั่วไป

  • (เงินต้นคงเหลือ x เปอร์เซ็นต์อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จํานวนวันในงวด) ÷ จํานวนวันใน 1 ปี* = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น
  • จํานวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น – ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = เงินต้นลดลง
  • เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน – เงินต้นลดลง = เงินต้นคงเหลือ (เพื่อคํานวณดอกเบี้ยงวดถัดไป)

จํานวนวันใน 1 ปี จะขึ้นกับการกําหนดของสถาบันการเงินซึ่งอาจเป็น 360 วัน 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะกําหนดจํานวนเป็นเท่าใดก็ตาม สถาบันการเงินจะต้องใช้จํานวนวันเดียวกันสําหรับการคํานวณ ทั้งดอกเบี้ยจ่าย เช่น เงินฝาก และดอกเบี้ยรับ เช่น สินเชื่อ เป็นต้น

กรณีกำหนดให้ชำระหนี้เดือนละเท่า ๆ กัน

MLR MRR MOR คืออะไร

สมมติว่า ต้องการกู้เงิน 12,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี สถาบันการเงินจะคำนวณจำนวนเงินผ่อนต่องวดจากสูตรดังต่อไปนี้​

  • PMT = จำนวนเงินที่ท่านต้องชำระต่องวด
  • PVA n = จำนวนเงินกู้ทั้งหมด
  • I = อัตราดอกเบี้ยต่องวด (หากมีอัตราดอกเบี้ยต่อปีให้ไปหารด้วย 12 ก่อน )
  • n = ระยะเวลาที่ต้องชำระคืน

MLR MRR MOR คืออะไร

ในกรณีนี้สถาบันการเงินปัดยอดเงินต่องวดขึ้นและให้ผ่อนชำระงวดละ 2,150 บาท ยกเว้นเดือนสุดท้ายที่จะให้ผ่อนชำระ 2,093 บาท ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสัดส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวดตามสูตรที่ได้กล่าวถึงในกรณีทั่วไปได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การคำนวนหาดอกเบี้ยงวดที่ 1 กำหนดเป็นเดือน มกราคมที่มี 31 วัน สามารถคิดได้ดังนี้

  • (เงินต้นคงเหลือ x เปอร์เซ็นต์อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จํานวนวันในงวด) ÷ จํานวนวันใน 1 ปี* = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = ดอกเบี้ยจ่ายต่องวดนั้นๆ
  • (12,000 x 24% x 31) ÷ 365 = 245 บาท

ขั้นที่ 2 การคำนวนหาเงินต้นที่ลด สามารถคิดได้ดังนี้

  • จํานวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น – ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = เงินต้นลดลง
  • 2,150 – 245 = 1,905 บาท

ขั้นที่ 3 การคำนวนหาเงินต้นคงเหลือ

  • เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน – เงินต้นลดลง = เงินต้นคงเหลือ (เพื่อคํานวณดอกเบี้ยงวดถัดไป)
  • 12,000 – 1,905 = 10,095 บาท

และเมื่อท่านทำการจ่ายครบ 6 งวดท่านจะได้ดอกเบี้ยและเงินต้นคงเหลือดังตารางต่อไปนี้

MLR MRR MOR คืออะไร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *