ภัยทางการเงินในโลกออนไลน์ มีอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง

เนื่องจากเวลานี้หลายๆท่านเริ่มนิยมหรือปรับตัวมาใช้การเงินแบบดิจิทัล รวมไปจนถึงหลายๆธุรกิจก็เริ่มมาในทางออนไลน์มากยิ่งขึ้นดังนั้นก็ทำให้เหล่า มิจฉาชีพเกิดขึ้นตามมาด้วยทั้ง การหลอกลวงหลอกให้โอนเงิน หรือบ้างกลุ่มล้วงข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบหรือนำข้อมูลไปขาย ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำ ภัยทางการเงินในโลกออนไลน์ ที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้ท่านโดนหลอก
ภัยทางการเงินในโลกออนไลน์ มีอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง
ถึงแม้ว่าเวลานี้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินได้สะดวกรวดเร็ว การจับจ่ายใช้สอยเงินแบบดิจิทัลหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเงินแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถึงแม้ว่าการเงินแบบดิจิทัลจะปลอยภัยในระดับที่สูงมาก แต่ก็มีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามปรับรูปแบบการหลอกลวงเพื่อมาหลอกเหยื่อ โดยมีช่องทางเข้าถึงตัวเหยื่อที่หลากหลาย ได้แก่ ทางโทรศัพท์ อีเมล แอปพลิเคชันธนาคาร ข้อความ SMS รวมไปจนถึง เหล่าช่องทางของ social media เช่น LINE Facebook หรือ Tiktok นอกจากนี้ กลอุบายที่น่ากลัวคือ มิจฉาชีพนิยมใช้ความโลภ จากผู้คน หรือ ความกลัวต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเหยื่อให้หลงกลจนต้อบงยอมให้ข้อมูลส่วนตัว ยอมโอนเงิน ที่บางท่านสูญเสียเงินเป็นล้าน หรือบางท่านเสียเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิต หมดตัวจนล้มละลาย จนบางท่านต้องยอมจบชีวิตเลยก็มี ดังนั้นวันนี้เราจะมาเตือน ภัยทางการเงินในโลกออนไลน์ มีอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง
ภัยจากแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์
- เล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพที่พบบ่อยที่สุดในเวลานี้คือ การข่มขู่ให้เหยื่อกลัว ยกตัวอย่างเช่น หลอกว่าค้างชำระหนี้บัตรเครดิต มีพัสดุตกค้างจากต่างประเทศ มีเงินโอนผิดเข้ามาในบัญชี ญาติประสบอุบัติเหตุ พัวพันกับการฟอกเงินหรือสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้คนตกใจและรีบให้ข้อมูลส่วนตัวหรือโอนเงินให้อย่างรวดเร็ว อย่างกรณีประชาชนถูกมิจฉาชีพอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพกรส่งลิงก์เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ให้ตรวจสอบการค้างจ่ายภาษี ทำให้เหยื่อตกใจรีบกดลิงค์เข้าไปเพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว ก่อนจะทราบภายหลังว่าเงินในบัญชีที่ผูกไว้กับแอปพลิเคชันธนาคารได้ถูกโอนออกไปทั้งหมด มูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสูญเงินออมตลอด 40 ปี จากการกดลิงค์เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงมิจฉาชีพนั้นคงทำได้ยาก แม้ปัจจุบัน หลายหน่วยงานได้ผนึกกำลังเพื่อแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ธปท. กสทช. สมาคมธนาคารไทย และตำรวจไซเบอร์ แต่การป้องกันภัยทางการเงินที่มีประสิทธิภาพที่สุดคงไม่พ้นตัวเราที่ต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม และฉุกคิดซักนิดก่อนจะกดโอน
ภัยจาก SMS
- เนื่องจากเวลานี้เศรษฐกิจในประเทศยังไม่ดีขึ้นทำให้หลายๆท่านต้องการกู้เงินมาใช้จ่าย ดังนั้นหลายๆท่านอาจจะเริ่มเห็น SMS จากเบอร์แปลก ๆ หรือชื่อผู้ส่งที่ใกล้เคียงกับสถาบันหรือบริษัทที่เรารู้จัก แจ้งว่าได้รับเงินกู้อนุมัติเร็ว หรือเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยให้คลิกลิงค์เพื่อ add line คุย ซึ่งมักจบด้วยการขอให้เหยื่อโอนเงินไปก่อน เพื่อให้สามารถรับเงินก้อนใหญ่ได้ บ้างก็อ้างว่าเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมทำสัญญา หรือค่าธรรมเนียมปลดล๊อก แล้วก็เงียบหายไปอย่างไร้ร่องรอยพร้อมกับเงินที่เหยื่อโอนให้ หลายรายต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มเพื่อมาโอนให้ โดยหวังว่าจะได้เงินก้อนใหญ่มาชดเชย กลุ่มนี้ มักหลอกเอาเงินก้อนไม่ใหญ่นัก แต่มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก
ภัยออนไลน์จากแชร์ลูกโซ่ ออนไลน์
- เล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพในแนวทางนี้จะอาศัย ความโลภ ของผู้คนคือ กลไกแชร์ลูกโซ่ที่แฝงมาในชื่อการออมหรือการลงทุน โดยมักเสนอผลตอบแทนสูงเกินกว่าความเป็นจริง อย่างกรณี Forex-3D ที่ยังเป็นคดีค้างคา กระตุ้นความโลภด้วยการนำเสนอภาพลักษณ์ของ CEO ที่ร่ำรวย มีการทำกิจกรรมร่วมกับคนดังเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และชักชวนคนให้มาลงทุนผ่านแม่ข่าย โดยในช่วงแรกมีการโอนผลตอบแทนให้สมาชิกจริง เมื่อผู้เสียหายได้รับผลตอบแทนสูง ก็อยากลงเพิ่มเพื่อให้ได้เป็นสมาชิกระดับสูงขึ้น เพราะจะได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนจริง แต่เป็นการนำเงินของสมาชิกใหม่มาหมุนเป็นผลตอบแทนให้สมาชิกเดิม ไม่นานนัก ก็ต้องหยุดจ่ายผลตอบแทน ส่วน CEO และคณะบินหนีไปต่างประเทศ ทิ้งมูลค่าความเสียหายไว้กว่า 2,400 ล้านบาท จากเหยื่อที่ถูกหลอกให้ลงทุนกว่า 9,000 คน
แนวทางป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์
ก่อนจะทำอะไรหรือตัดสินใจอะไรทุกครั้งที่ได้รับการติดต่อขอข้อมูลส่วนตัว มีกิจธุระให้เราต้องโอนเงิน ก็ขอให้ตั้งสติแล้วท่องคาถา “เช็กให้ชัวร์” ลองตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน ลองโทรศัพท์กลับไปยังหน่วยงานหรือบริษัทที่ถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อตรวจสอบว่ามีการให้เจ้าหน้าที่ติดต่อมาจริง หรือตรวจสอบชื่อหน่วยงานที่ติดต่อมาว่าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากยังไม่มั่นใจ อย่าโอนเงิน อย่าเปิดเผยข้อมูล อย่ากดลิงค์ อย่าลงทุน หรือดำเนินการใด ๆ โดยเด็ดขาด และที่สำคัญต้องเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ รับฟังข่าวสารและคำเตือนจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงอยากให้ช่วยบอกต่อเพื่อน เตือนครอบครัว และคนรอบข้างให้ระวังภัยใกล้ตัวนี้ด้วย
ดังนั้นการสละเวลาเพื่อตรวจสอบข้อมูลก่อนลงมือทำอะไร สามารถเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ได้มากกว่าที่คิด เวลาที่เล็กน้อยเสียไปกับการตรวจสอบอาจหยุดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราและครอบครัวได้ สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสู้ภัยทางการเงิน อย่าลืมท่องคาถา “เช็กให้ชัวร์” เป็นหูเป็นตาให้กันในสังคม และหากพบเห็นเบาะแสที่จะเป็นภัยต่อตนเองและผู้อื่นก็โทรศัพท์แจ้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 นอกจากนี้ ยังตรวจสอบแอปพลิเคชันเงินกู้ที่ลงทะเบียนถูกต้อง รวมถึงธุรกิจเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตได้ในเว็บไซต์ของแบงก์ชาติ www.bot.or.th หากพลาดโอนเงิน เปิดเผยข้อมูล หรือกดลิงค์จากมิจฉาชีพไปแล้ว ควรรีบแจ้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
ก่อนจากกันทางเว็บไซต์ moneydever.com ยังมีเรื่องราวอื่นๆอีกมากมายอย่างลืมเข้ามาอ่านกันนะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า…
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย