วิธียื่นภาษี 2566 แบบสรุปครบทุกขั้นตอนอย่างง่ายๆ

เนื่องจากเราได้เข้าสู่ปีใหม่แล้วสิ่งที่พนักงานหรือผู้มีรายได้จะต้องทำคือการ ยื่นภาษี ดังนั้นวันนี้ทาง moneydever จะมาสอน วิธียื่นภาษี 2566 แบบสรุปครบทุกขั้นตอนอย่างง่ายๆ ที่รับลองเลยว่าท่านจะยืน ภาษี ได้ผ่านฉลุยอย่างแน่นอน
วิธียื่นภาษี 2566 แบบสรุปครบทุกขั้นตอนอย่างง่ายๆ
สำหรับฤดูกาล ยื่นภาษี ในปี 2566 ได้เดินทางมาถึงาอีกครั้ง โดยท่านที่ต้องยืนแบบภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2565 ท่านสามารถยื่นภาษีแบบเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566 นี้ นอกจากนี้หากท่านไหนที่ยื่นภาษี ผ่านช่องทางออนไลน์ ท่านสามารถทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2566 ทั้งนี้การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ ได้แก่
- ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผ
- ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริม เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
เอกสารสำหรับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งในเอกสาร 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมที่แสดงให้เห็นว่า ในปีนั้นเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ หรือเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด เป็นต้น
- เอกสารรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอกสารช้อปดีมีคืน เป็นต้น
ช่องทางวิธีการยื่นภาษี
- เริ่มแรกให้ท่านทำการกรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
- กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
- กรณีที่ท่านต้องการยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง ท่านสามารถยืนผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th
วิธียื่นภาษีออนไลน์
1.เริ่มแรกให้ท่านเข้าสู่ Website กรมสรรพากร เลือก Log in ด้วย NDID
2.จากนั้นทำการใส่หมายเลขบัตรประชาชน
3.เลือกธนาคารเพื่อยืนยันตัวตน
- ระบบจะให้ท่านเลือก ธนาคารเพื่อยืนยันตัวตน โดย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่ม 1
ธนาคารที่ท่านลงทะเบียน NDID ไว้แล้ว สามารถยืนยันตัวตนได้ทันที - กลุ่ม 2
ธนาคารที่ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียน NDID ระบบจะพาท่านไปลงทะเบียน NDID จากนั้นจึงทํารายการยืนยันตัวตนได้ (กรุณาตรวจสอบคุณสมบัติเมื่อเลือกธนาคาร)
4.ดําเนินการยืนภาษีได้เลย เข้าสู่หน้าแบบแสดงรายการภาษี เพื่อทํารายการยื่นแบบต่อไป
ยื่นภาษีไม่ทัน แก้ได้อย่างไร
กรณีที่ท่านทำการหากยื่นแบบภาษีไม่ทันตามกำหนด ท่านผู้เสียภาษีต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไป ยื่นภาษี ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่เท่านั้น (ไม่สามารถยื่นแบบภาษีทางออนไลน์ได้) โดยต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
- แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่าย (50 ทวิ)
- เงินสำหรับจ่ายภาษีส่วนที่ค้าง รวมทั้งอาจต้องจ่ายค่าปรับเพิ่มด้วย
เอการเพิ่มเติมสำหรับท่านที่ต้องการลดหย่อนภาษี
- หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต,
- หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,
- หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนใน RMF
- เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
- เอกสารยืนยันสิทธิ์ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ใบ ล.ย. 04) ฯลฯ
โทษของการไม่ยื่นภาษี
หากท่านลืมยื่นแบบภาษีภายในกำหนด ชำระภาษีไม่ครบถ้วนหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
- กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
- กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
- เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีลดหย่อนภาษี
- ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิตยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตแบบบำนาญอีกสูงสุด 200,000 บาท
- ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หรือสมทบทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัทที่ทำงานอยู่ นอกจากจะเป็นเงินเก็บที่มีโอกาสได้กำไรแล้ว ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ)
- ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เป็นกองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะมาแทนกองทุน LTF โดยกองทุน SSF ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ)
- การซื้อสินค้าต่างๆแต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายนี้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีในปี 2565 (ปีภาษีถัดไปได้) จะมอบสิทธิให้กับประชาชนที่ซื้อสินค้าหรือบริการ (ที่เข้าร่วมเงื่อนไข) แล้วสามารถนำวงเงินค่าใช้จ่ายไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ (ตามจำนวนที่จ่ายจริง) แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ซื้อบ้านและคอนโด โดยดอกเบี้ยในการผ่อนบ้าน-คอนโดที่เสียทั้งปี สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดถึง 100,000 บาท
ลิสต์ลดหย่อนภาษีปี 66
ก่อนจะไปดู ลิสต์ลดหย่อนภาษีปี 66 เราไปดู สูตรคานวณภาษีเงินได้ โดยจะกำหนดให้ดังนี้ รายได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ภาษีที่ต้องจ่าย = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี
ส่วนตัว/ครอบครัว
- ส่วนตัว ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท
- คู่สมรส ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท
- บุตร ลดหย่อนภาษี 30,000 บาท
- บุตร(คนที่ 2 ขึ้นไป )ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท
- ฝากครรก์-คลอดบุตร ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท
- บิดา-มารดา ลดหย่อนภาษี 30,000 บาท
- ผู้พิการ-ทุพพลภาพ ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท
การกระตู้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
- โครงการช้อปดีมีคืน 2565 ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
เงินบริจาคต่างๆ
- พรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
- บริจากทั่วไป ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- การศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม รพ.รัฐ ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
ประกัน เงินออมและการลงทุน
- ประกันชีวิต / ออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 25,000 บาท รวบแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 6,300 บาท
- ประกันสุขภาพของบิดา-มารดา ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนภาษี 13,200 บาท
- กองทุน RMF 30% ลดหย่อนภาษีของเงินได้ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน SSF 30% ลดหย่อนภาษีของเงินได้ไม่เกิน 200,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ลดหย่อนภาษีของเงินได้ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนส่ารองเลี้ยงชีพ / กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน 15% ลดหย่อนภาษีของเงินได้ไม่เกิน 500,000 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับท่านที่ยังข้องใจเรื่องภาษี กรมสรรพากร ขยายเวลาให้บริการตอบปัญหาภาษีอากรทางโทรศัพท์ 1161 Call Center และล่าสุดเพื่อให้บริการผู้ที่มีปัญหาข้อสงสัยในเรื่องภาษีอากร กรมสรรพากร ได้ขยายเวลาให้บริการผ่านทางโทรศัพท์ 1161 Call Center ตอบปัญหาภาษีอากรทางโทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 8 เมษายน 2565
- วันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลา 08.30 – 20.00 น. ( เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ )
- ทุกวันเสาร์ของเดือนมีนาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.00 น. และ
- วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนเมษายน 2565 เวลา 08.30 – 16.00 น.