วิธีแก้ปัญหาหากตกงานแต่ต้องจ่ายหนี้บ้าน จะทำอย่างไร

วันนี้เรามาแนะนำ วิธีแก้ปัญหาหากตกงานแต่ต้องจ่ายหนี้บ้าน หากท่านกำลังมีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะตกงานหรือเวลานี้ ท่านโดนให้ออกจากงานอย่างไม่คาดคิด…! สำหรับท่านที่เวลานี้ยังไม่ตกงานหรือเบื่อกับที่ทำงานเดิมสิ่งสำคัญคือท่านควรรักษาประวัติเครดิตทางการเงินของท่านให้ดีอยู่ตลอดเวลา เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถเจรจาและหาวิธีการจัดการเมื่อท่าน ตกงานแต่ยังมีหนี้ให้ท่านต้องจ่าย ได้ง่ายขึ้น เอาละเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาตอนนี้เรามาเรียนรู้ วิธีการจัดการกับภาระหนี้บ้าน หากท่านจะต้องตกงานอย่างกะทันหันได้เลย…!
วิธีแก้ปัญหาหากตกงานแต่ต้องจ่ายหนี้บ้าน
หากเวลานี้ท่านตกงานสิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำคือการจัดการกับตัวท่านเองก่อนที่จะมองหางานใหม่ โดยให้ท่านไปทำการลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับประกันสังคม(ควรทำทันทีหลังตกงาน 1 วัน) เนื่องจากระยะเวลาในการลงทะเบียนนั้นจำเป็นต้องดำเนินการภายใน 30 วันหลังจากวันที่ท่านตกงาน โดยท่านสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ กรมจัดหางาน (ทำได้ด้วยตัวเองอยู่บ้านก็ลงทะเบียนได้) สำหรับข้อดีของการลงทะเบียนจะทำให้ท่านได้รับเงินชดเชยแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน สำหรับท่านที่ต้องการรับสิทธินี้มีเงื่อนไขคือ ท่านจะต้องเป็นผู้ที่ได้ส่งหรือชำระเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และต้องตกงานโดยที่ท่านจะต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายได้แก่ ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิด ลาออกเอง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง นอกจากนี้ ท่านยังจะต้องไปรายงานตัวที่เว็บไซต์กรมจัดหางานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จบกว่าจะครบกำหนดรับเงิน สำหรับรายละเอียดการรับสิทธิประโยชน์ของท่านนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การว่างงาน หากถูกเลิกจ้าง ท่านจะได้รับเงินชดเชยการว่างงานตามอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน โดยมีแนวทางการคิดดังนี้
- กรณีการถูกเลิกจ้างหรือที่ทำงานปิดตัว ท่านจะได้รับเงินชดเชยการว่างงานเป็นระยะเวลาไม่เกินปีละ 180 วัน (หรือประมาณ 6 เดือน) ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ที่คำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาทและฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (หรือท่านจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือนนั้นเอง) โดยท่านจะได้รับเงินประมาณก้อนแรกหลังจากลงทะเบียนในครั้งแรกประมาณ 30 วันทำการหรือเรียกง่ายๆว่าได้รับเงินในเดือนต่อไปนั้นเอง
- กรณีลาออกเองท่านจะได้รับเงินชดเชยการว่างงานเป็นระยะเวลาไม่เกินปีละ 90 วัน (หรือประมาณ 3 เดือน) ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย ที่คำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาทและฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (หรือท่านจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกิน 4,500 บาทต่อเดือนนั้นเอง) โดยท่านจะได้รับเงินประมาณก้อนแรกหลังจากลงทะเบียนในครั้งแรกประมาณ 30 วันทำการหรือเรียกง่ายๆว่าได้รับเงินในเดือนต่อไปนั้นเอง
สำหรับ เงินที่ท่านได้จากสิทธิเหล่านี้ สามารถพอจะช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มในระหว่างที่ท่านกำลังมองหางานใหม่ หรืออาจจะพอไปใช้สำหรับจะต่อยอดทำธุรกิจได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เมื่อท่านรู้ว่าตัวเองตกงานหรือกำลังจะตกงาน ควรทำการไป ลงทะเบียนที่เว็บไซต์กรมจัดหางาน ก่อนที่จะเริ่มต้นการค้นหางานใหม่
ตกงานแต่ต้องจ่ายหนี้บ้าน เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
ลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน
- วิธีแรกคือการลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน ตัวอย่างเช่นหากเราเคยชำระค่าผ่อนบ้านเดือนละ 15,000 บาท จะลดลงเหลือประมาณ 9,000 บาทต่อเดือนช่วยให้ท่านประหยัดไปได้ 6,000 บาท สำหรับวิธีนี้มีระยะเวลาสูงสุดในการปรับลดนี้จะไม่เกิน 2 ปี หรืออาจจะแตกต่างไปตามการอนุมัติของธนาคารที่ท่านไปขอกู้ซึ่งบาง ธนาคารอาจเป็น 1 หรือ 2 ปี นอกจากนี้วิธีนี้มีข้อดีอีกอย่างคือท่านจะสามารถรักษาประวัติเครดิตได้ ทำให้ยังคงสถานะบัญชีของท่านยังคงเป็นปกติเช่นเดิม หลังจากผ่านไปเวลา 1-2 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ธนาคารปรับลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนไปแล้ว ท่านก็จะต้องกลับมาชำระเงินเดิมที่ 15,000 บาทต่อเดือนเหมือนเดิม (เมื่อถึงเวลานั้นท่านคงจะได้งานใหม่ไปแล้ว)
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- วิธีนี้เป็นการลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนให้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่ท่านเคยผ่อนจริง ตัวอย่างเช่นหาก ท่านเคยผ่อนบ้านเดือนละ 15,000 บาท จะลดลงเหลือประมาณ 3,000-6,000 บาทต่อเดือนเป็นระยะเวลา 1-2 ปี ซึ่งวิธีนี้ท่านจะต้องไปติดต่อกับทางธนาคาร จากนั้นทางธนาคารอาจจะมีการพูดคุยกับท่านเพื่อร่วมกันตัดสินใจว่าท่านสามารถผ่อนเงินลดลงประมาณนี้ไหวหรือไม่ หากพูดคุยกันแล้วพบว่าท่านยังคงยากต่อการจ่ายหนี้ที่ทางธนาคารเสนอมาให้ ให้ท่านพูดกับธนาคารออกไปตรงๆเกี่ยวกับจำนวนเงินผ่อนที่ท่านพอจะสามารถผ่อนได้สูงสุด เช่น ธนาคารเสนอมา 6,000 บาทต่อเดือน แต่ท่านผ่อนไหวแค่ 3,000 บาท ต่อเดือนเท่านั้น หรือหากยอดจ่ายยังสูง ธนาคารอาจจะลดลงให้ท่านเพิ่มอีก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือท่านอาจเสียประวัติเครดิตเงินกู้หรือเรียกง่ายๆว่าติด เครดิตบูโร เพราะชื่อของท่านจะถูกปรับเปลี่ยนเป็น บัญชีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจมีผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคตของเราได้ โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลา 3-5 ปี
ขายบ้านให้คนอื่นผ่อนต่อ
- กรณีที่ท่านไม่สามารถผ่อนบ้านต่อจริงๆและไม่อยากเป็นหนี้หัวโตหากท่านปลอยให้ธนาคารมายึดบ้าน สิ่งที่ท่านต้องทำคือ ตรวจสอบทำเลบ้านหรือทำการประเมินราคาในกรณีที่บ้านติดจำนองอยู่ ทำได้โดยที่ท่านใช้สำเนาโฉนดที่ดิน หากผู้ขายไม่มีสำเนาโฉนดท่านสามารถไปขอคัดสำเนาที่กรมที่ดินได้ เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปดำเนินการยื่นประเมินราคา ยื่นกู้กับทางสถาบันการเงินต่อไป หลังจากการประเมินเรียบร้อยและสามารถกู้ได้ผู้ขายสามารถนัดวันโอนกรรมสิทธิ์ต่อไปได้เลย จากนั้นให้ท่านทำการไปติดต่อเจ้าหนี้หรือธนาคารที่ท่านไปกู้เงินมาเพื่อแจ้งว่าต้องการปิดยอดหนี้ จะขายบ้านหลังนี้ให้กับคนอื่นไปผ่อนต่อ โดยแจ้งวันโอนกรรมสิทธิ์ไปว่าเป็นวันไหน เพื่อให้ธนาคารแจ้งยอดหนี้จนถึงวันนั้นให้ทราบ อย่างลืมค่าปลอดจำนองของผู้ขายผู้ขายต้องชำระค่าปลอดจำนองที่มีมูลค่า 50 บาทต่อหน่วย ในกรณีที่ผู้ซื้อได้กู้ยอดเต็มจำนวนที่มากกว่ายอดหนี้ที่ค้างอยู่ จะมีข้อตกลงในการแบ่งจำนวนเงินที่กู้มาและจัดสรรให้แก่ผู้ขาย โดยแจ้งให้ธนาคารทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จัดสรรให้แก่ผู้ขายและจำนวนเงินที่จะนำไปส่งให้กับธนาคารของผู้ซื้อหรือจะเป็นการดำเนินการผ่อนชำระต่อไป หากราคาขายต่ำกว่ายอดหนี้ที่ค้างอยู่ ผู้ขายต้องเตรียมเงินมาชำระค่าปลอดจำนอง ขั้นตอนสุดท้ายคือการโอนสิทธิ์ที่ดินที่กรมที่ดินตั้งอยู่ ขั้นตอนนี้คล้ายกับกระบวนการขายบ้านทั่วไป ในกรณีส่วนใหญ่ของการขายบ้านที่มีตัวเลือกผ่อนชำระ สามารถขายในราคาเต็มหรือเสนอยกบ้านให้ฟรีโดยที่เขาไปผ่อนต่อเพื่อลดภาระให้แก่ท่านก็ได้เช่นกัน ข้อเสียหลักๆคือหากท่านไหนผ่อนบ้านมานานแล้วเท่ากับท่านเสียบ้านไปฟรีๆนั้นเอง
การขายบ้านคืนให้กับธนาคาร
- สำหรับแนวทางสุดท้ายนี้ หากท่านไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วหรือมีความตั้งใจที่จะขายแต่ไม่สามารถขายให้ใครได้ให้ท่านไปติดต่อกับ ธนาคารที่ท่านขอกู้เงิน โดยธนาคารอาจเสนอให้ท่านทำการขายบ้านคืนให้กับธนาคาร โดยวิธีนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการหาทางออก โดยกรณีนี้ ธนาคารจะซื้อบ้านคืนมาในจำนวนเงินคงค้างที่ท่านจะต้องชำระต่อธนาคาร ท่านจะไม่ได้รับเงินที่เหลือจากยอดที่ท่านจ่ายมาในช่วงเวลาหลายปี ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าบ้านของเรามีมูลค่า 3 ล้านบาท ท่านได้ผ่อนชำระเป็นเวลา 5 ปี ทำให้เวลานี้เหลือหนี้ในธนาคารอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ธนาคารก็จะซื้อคืนบ้านนั้นในราคา 2.5 ล้านบาท และท่านจะไม่ได้รับเงินต่างสร้างแต่เราก็จะไม่มีหนี้สินกับธนาคารอีกต่อไป นอกจากนี้ วิธีนี้จะทำให้ประวัติเครดิตของเราถูกปรับเป็น บัญชีโอนหนี้คืนธนาคาร ซึ่งอาจมีผลต่อการที่ท่านจะไปขอหรือสมัครสินเชื่อในอนาคตได้ เรียกง่ายๆว่าหลังจากนี้จะขอสินเชื่อยากมากขึ้นนั้นเอง
อย่างปลอยให้บ้านโดนธนาคารยึดโดยเด็ดขาด…!!!
- เพราะหากท่านปลอยให้บ้านถูกธนาคารยึด ส่งแรกที่ท่านจะต้องโดนคือ ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นสูงสุดตามสัญญา 15-22% แค่ท่านขาดส่ง 3 เดือนท่านก็โดนแล้ว และเมื่อดอกเบี้ยปรับขึ้นทำให้ท่านมีหนี้ก็จะสูงตามไปด้วยทำให้ไม่มีทางที่ท่านจะผ่อนไหวอย่างแน่นอน เมื่อผ่านจ่ายหนี้ไม่ไหว จากนั้นธนาคารก็จะทำการฟ้องท่านและก็จะเอาบ้านของท่านไปขายทอดตลาดเมื่อไปขายทอดตลาด หากท่านโชคดีบ้านท่านขายได้มากกว่าหนี้ที่ท่านติดกับธนาคารท่านก็จะได้ส่วนต่างมา แต่เชื่อเถอะขายยังไงก็งไม่พอจ่ายหนี้เพราะท่านดอกเบี้ยปรับที่สูงสุดๆเล่นงานอยู่ ทีนี้ธนาคารก็จะมาทำการยึดทรัพย์สินท่านต่อ หากธนาคารทำการยึดทรัพย์ท่านแล้วแต่ยังจ่ายหนี้ไม่พอท่านก็จะถูกฟ้องล้มละลายไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เลยอย่างน้อยๆ ก็ 3-5 ปี ทำให้เครดิตเสีย อนาคตไปขอสินเชื่อกับธนาคารไหนก็แทบไม่ผ่านอีกเลย
สุดท้ายนี้ก่อนจะลากันสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทาเราอยากจะฝากท่านเลยคือ เมื่อถูกเลิกจ้าง ทางต้องมีสติอยู่กับปัจจุบัน จากนั้นค่อยๆคิดและวางแผนทางการเงิน โดยลองดูจากวิธีที่เราได้แนะนำท่านไปจากด้านบนนี้ก็พอจะเป็นแนวทางให้ท่านสามารถผ่าน วิกฤต ทางการเงินนี้ไปได้อย่างแน่นอน ไม่ต้องโทษตัวเองหรือเสียดายอะไรทั้งสิ้น ทางเราเชื่อว่าตราบใดที่ท่านยังมีลมหายใจ ท่านสามารถผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน เรา moneydever ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้ท่านสามารถเก้าผ่าน วิกฤต ในครั้งนี้ให้จงได้
ก่อนจากกันทางเว็บไซต์ moneydever.com ยังมีเรื่องราวอื่นๆอีกมากมายอย่างลืมเข้ามาอ่านกันนะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า…