วิธีเช็ก SMS อันตราย ทำอย่างไรไม่ให้โดยหลอกดูดข้อมูล

เนื่องจากสมัยนี้เหล่ามิจฉาชีพเพิ่มกลโกงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อจะให้เหล่าผู้ใช้งานมือถือตกหลุมพรางได้ง่าย พวกมันจึงออกแบบกลโกงที่แยบยลมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการส่ง SMS มาในชื่อของแบงก์ ธนาคาร หรือเหล่า องค์กรที่ดูน่าเชื่อถือ ดังนั้นเพื่อที่ท่านจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ วันนี้ทาง moneydever จะมาแนะนำขั้นตอน วิธีเช็ก SMS อันตราย ทำอย่างไรไม่ให้โดยหลอกดูดข้อมูล เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย
วิธีเช็ก SMS อันตราย ทำอย่างไรไม่ให้โดยหลอกดูดข้อมูล
เมื่อท่านได้รับ SMS ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ อย่ากดลิงก์, โหลดแอป หรือกรอกข้อมูลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล, หมายเลขบัตรประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, รหัส OTP โดยเด็ดขาด เนื่องจาก SMS เหล่านี้ มักจะเป็น SMS ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา เพื่อหลอกดูดข้อมูลทางโทรศัพท์ของเรา ทำให้เราได้รับความเสียหาย
- SMS ที่จะส่งมาแจ้งว่าเครื่องท่านถูกไวรัส โดยจะให้ท่านทำการกดลิงก์แก้ไข (อย่างกดเด็ดขาด) ไม่มีแอปพลิเคชันในโลกใบนี้ทำ เพราะหากเครื่องท่านถูกไวรัสจริงจะต้องแจ้งผ่านจากระบบมือถือของท่านเท่านั้นหรือโปรแกรมกำจัดไวรัสของแท้เท่านั้น
- SMS ที่จะส่งมาแจ้งว่าเป็นผู้โชคดี ได้รับรางวัล ให้ติดต่อกลับ (อย่างโทรกลับ) เพราะของจริงหากท่านถูกรางวัลจริงๆจะมีคนโทรเข้ามาให้ท่านไปรับของรางวัล และจะต้องไม่มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคารด้วย
- SMS ที่จะส่งมาแจ้งว่าบัญชีธนาคารถูกระงับ ให้กดลิงก์แก้ไข (อย่างกดเด็ดขาด) เรื่องจริงหากบัญชีธนาคารท่านจะถูกระงับธนาคารจะเป็นคนโทรมาแจ้งให้ท่านไปติดต่อที่ธนาคารโดยตรงไม่มีการทำธุรกรรมผ่านมือถือ
- SMS ที่จะส่งมาแจ้งว่าท่านได้รับสิทธิจากโครงการรัฐ ให้กดลิงก์กรอกข้อมูล (อย่างกดเด็ดขาด)
- SMS ที่จะส่งมาแจ้งของความแนบลิงก์ให้กดอัพเดตข้อมูลในเครื่อง (อย่างกดเด็ดขาด) ระบบมือถือของท่านสามารถถามท่านได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน sms
นอกจากนี้สำหรับขั้นตอนการสังเกตุพิรุธแบบง่ายๆ สิ่งแรกข้อความมักจะเน้นทำให้ผู้อ่านวิตกกังวล อยากรู้อยากเห็น หรือทำให้ตื่นเต้น ดีใจว่าได้รับรางวัล สิทธิพิเศษต่างๆ และเร่งให้ทำอะไรบางอย่าง เช่น อัพเดทข้อมูลทันทีมิฉะนั้นบัญชีจะทำธุรกรรมไม่ได้ รีบคลิกเพื่อรับรางวัลด่วนก่อนหมดเขต มีเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้ เป็นต้น กระตุ้นล่อหลอกให้คลิกลิงค์ที่แนบมาเพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยของปลอมจะขอข้อมูลเชิงลึกมากผิดปกติ เช่น เลขบัตรประชาชน, เลขบัตรเครดิต, เลขบัญชีธนาคาร, วันเดือนปีเกิด, รหัส ATM, Password รวมถึงรหัส OTP ในการทําธุรกรรม ซึ่งปกติเว็บไซต์จริงของธนาคารจะขอเพียงชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์และอีเมลเท่านั้น ถ้าคลิกเข้าเว็บไซต์ ลิงค์ที่พาไปมักมีชื่อแปลกๆ พยายามเลียนแบบชื่อเว็บไซต์จริงของธนาคาร เช่น scbpl.com, scb77.44, lifescb.com, scb.gdscba.com ถ้าเจอแบบนี้ปลอมชัวร์
ขั้นตอนการป้องกันเบื้องต้น
เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ธนาคารขอให้คุณปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- อย่าหลงเชื่อลิงก์ที่แนบมาพร้อมกับข้อความ SMS อีเมล เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆ เช่น LINE และ Facebook Messenger ที่ไม่มีแหล่งที่มา และห้ามเปิดลิงค์แนบอย่างเด็ดขาด
- ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านการร้องขอในรูปแบบต่างๆ หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับช่องทางการบริการ ให้ติดต่อธนาคารโดยตรงด้วยตนเอง
- หากพบข้อความ หรือเว็บไซต์ที่สงสัยว่าจะเป็นการฟิชชิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคาร ควรติดต่อธนาคารทันที
- กรณีหลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลหรือรหัสผ่านไปแล้ว ให้รีบติดต่อธนาคารเพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านทันที
- เลือกใช้บริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชี ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด เช่น SMS Alert หากพบรายการธุรกรรมที่ผิดปกติหรือข้อมูลบัญชีที่ไม่ถูกต้อง ควรติดต่อธนาคารทันที
อ้างอิงข้อมูลตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)