เช็กสิทธิโรงพยาบาลประกันสังคมปี 66 สำหรับ ม.33-ม.39

มา เช็กสิทธิโรงพยาบาลประกันสังคมปี 66 สำหรับผู้ประกันตน ม.33-ม.39 โดยทางสำนักงานประกันสังคมเปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 แจ้งขอเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี ด้วยเหตุต่างๆทั้งไม่ได้รับความสะดวกในไปใช้บริการที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่แรก หรือมีเหตุที่จะต้องย้ายที่พักอาศัยหรือย้ายสถานที่ทำงานประจำเป็นต้น
เช็กสิทธิโรงพยาบาลประกันสังคมปี 2566 สำหรับ ม.33-ม.39
สำหรับตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถสอบถามจากนายจ้าง/เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือสายด่วน 1506 โดยสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนขอเปลี่ยนจะต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่ท่านประจำทำงาน หรือพักอาศัยในปัจจุบัน หรือจังหวัดรอยต่อของจังหวัดดังกล่าวและมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ได้ที่ SSO Application (SSO Connect) / โทร. 1506 /สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่ง สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ เครื่อง Smart Kiosk ของกระทรวงมหาดไทย และ Add เพื่อน Line @ssothai หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ประจำปี พ.ศ. 2566 เขต กรุงเทพมหานครฯ
- สถานพยาบาลรพ.ตากสิน*
- สถานพยาบาลรพ.ภูมิพลอดุลยเดช
- สถานพยาบาลรพ.เวชการุณย์รัศมิ์
- สถานพยาบาลรพ.ลาดกระบัง
- สถานพยาบาลคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- สถานพยาบาลรพ.ตำรวจ
- สถานพยาบาลรพ.ราชวิถี (สธ)
- สถานพยาบาลรพ.ศิริราช กรุงเทพมหานคร
- สถานพยาบาลรพ.กลาง
- สถานพยาบาลทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
- สถานพยาบาลรพ.รามาธิบดี
- สถานพยาบาลรพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า*
- สถานพยาบาลรพ.จุฬาลงกรณ์
- สถานพยาบาลรพ.นพรัตนราชธานี (สธ)
- สถานพยาบาลรพ.ราชพิพัฒน์*
- สถานพยาบาลรพ.สิรินธร*
- สถานพยาบาลรพ.เจริญกรุงประชารักษ์*
- สถานพยาบาลรพ.พระมงกุฎเกล้า
- สถานพยาบาลรพ.เลิดสิน (สธ)*
- สถานพยาบาลรพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ*
สถานพยาบาลของเอกชนเขต กรุงเทพมหานครฯ
- รพ.บางปะกอก 8 โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.เพชรเวชโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- รพ.ซีจีเอช สายไหม โรงพยาบาล
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่กล้วยน้ำไท*
- รพ.บางไผ่โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.เกษมราษฎร์ บางแคโรงพยาบาล
- รพ.บางมดโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.มเหสักข์โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- รพ.สุขสวัสดิ์อินเตอร์โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์*
- รพ.มงกุฎวัฒนะ
- รพ.หัวเฉียวโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่เกษมราษฎร์ประชาชื่น
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ เปาโล โชคชัย 4
- รพ.มิชชั่นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- รพ.ไอเอ็มเอช ธนบุรี โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- รพ.เกษมราษฎร์ รามค าแหงโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่เปาโล เกษตร
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ราษฎร์บูรณะ
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ พีเอ็มจี*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ลาดพร้าว
- นวมินทร์ 9 โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.พญาไท นวมินทร์ โรงพยาบาลทั่วไป ขนาดใหญ่
- วิภาราม โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่บางนา 1*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่มิตรประชา*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ศิครินทร์*
- รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่แพทย์ปัญญา ทั่วไปขนาดใหญ่
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ประจำปี พ.ศ. 2566 ต่างจังหวัด
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม แบบละเอียดประจำปี 2566 คลิก
ขั้นตอนการการเปลี่ยนสถานพยาบาล
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ต้องการ เปลี่ยนสถานพยาบาล ท่านสามารถเริ่มเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยสามารถเลือกเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ใน 4 ช่องทางคือ
- ยื่นแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ สปส. 9-02 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ
- หรือทำรายการผ่านเว็บไซด์ www.sso.go.th
- หรือทำรายการผ่าน Application SSO Connect
- หรือทำรายการผ่าน Line official sso โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai
กรณีการเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นแล้ว ไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมอีก เมื่อมีการเปลี่ยนสถานพยาบาล ผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งทำงานกับนายจ้าง สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งผลการเลือกสถานพยาบาลผ่านนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 39 จะแจ้งเป็นหนังสือ หรือ SMS เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ไม่ประสงค์เปลี่ยนสถานพยาบาลสามารถใช้สิทธิรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิเดิมได้ กรณีผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพ
สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง
สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ครอบคลุมการเจ็บป่วยปกติ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทันตกรรม บําบัดทดแทนไต ปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ คลอดบุตร รักษาโรคจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้
เจ็บป่วยปกติ
- เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น 14 โรคตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เช่น เสริมสวย รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม แว่นตา ใช้สารเสพติด เปลี่ยนเพศ หรือฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถใช้สิทธิได้
เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
กรณีที่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะมี 6 อาการด้วยกัน ได้แก่
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
- มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม
- โรงพยาบาลรัฐบาล เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท/วัน
- โรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง กรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน
- โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้
กรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม
- ค่าห้อง (ICU) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,500 บาท/วัน
- ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง 8,000-16,00 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่ได้รับการผ่าตัดกรณีฉุกเฉิ
- เบิกได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- ค่าทำ CT Scan เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
- ค่าทำ MRI เบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท/ครั้ง
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง
- ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
สิทธิทันตกรรม
- ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด 900 บาท/ครั้ง/ปี
- ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
- ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้
บําบัดทดแทนไต (โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย)
- ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์
- เตรียมเส้นเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
- ตรวจรักษาและน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน
- วางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
- ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก่อน-ระหว่าง-หลัง การปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
ปลูกถ่ายไขกระดูก
- ค่าบริการทางการแพทย์ นับแต่วันที่เริ่มต้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึ
- วันที่ได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่าย 500,000 บาท
- ค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่วันที่ได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล เหมาจ่าย 250,000 บาท
เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา
- ค่าบริการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล เหมาจ่าย 35,000 บาท
- ค่าจัดเก็บและรักษาคุณภาพดวงตาแก่สภากาชาดไทย 15,000 บาท/ดวงตา
อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค
เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักงานประกันสังคมกําหนด เช่น กะโหลกศีรษะเทียม กระดูกหูเทียม เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน รถนั่งคนพิการ ฯลฯ
ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์
- ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน
- ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
- ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี
- ค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 สูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ค่าคลอดบุตร
- เหมาจ่าย 13,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้ง
- ใช้สิทธิได้ 2 คน
- รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตรา 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 90 วัน
ค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาท จะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอดและการบริบาลทารกปกติ สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
รักษาโรคจากการทำงาน/ออฟฟิศซินโดรม
มีอาการป่วย เช่น อาการปวดหลัง บ่า ไหล่ ข้อมือ ปวดต้นคอ ปวดหัว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา ในกรณีที่รับการรักษาที่นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์ เช่น การฝังเข็ม หรือครอบแก้ว หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็น ผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ตามอัตราค่ารักษาจริง
ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19
หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการควบคุมในระดับสูงสุด สามารถขอตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี โดยประกันสังคมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งเป็นค่าตรวจคัดกรองเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคนิค Real Time PCR ประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,600 บาท ตามระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
- ค่ารักษาพยาบาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการจนกระทั่งรักษาหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องแล็บในอัตราที่จ่ายจริงในราคาแบบเหมาจ่ายในอัตราครั้งละไม่เกิน 600 บาท