เช็คสิทธิรับเงินผู้สูงอายุ 1000 บาท

มาดูและ เช็คสิทธิรับเงินผู้สูงอายุ 1000 บาท วันที่ 9 กรกฎาคม 64 โดยรัฐบาลจะทำการโอเงินให้วันที่ 9 ของเดือนนี้ ดังนั้นไปดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้างและท่านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยมีรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไปนี้ หรือท่านที่ต้องการสอบถามข้อมูลโดยตรงติดต่อได้ที่เบอร์ 02651 6534 หรือ 02651 6902 หรือ 02651 6920 สายด่วนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
วิธีลงทะเบียนแจ้งข้อมูลผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในโรงพยาบาล
เช็คสิทธิรับเงินผู้สูงอายุ 1000 บาท วันที่ 9 กรกฎาคม 64
สำหรับผู้สูงอายุที่มีสัญชาติไทยและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีเป็นต้นไป จะได้รับสวัสดิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สำหรับยังชีพและแบ่งเบาค่าใช้จ่าย โดยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะได้ตามลำดับขั้นของอายุผู้สูงอายุ โดยปกติท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพในทุกวันที่ 10 ของเดือน ตามกำหนดเดิม ซึ่งจะได้รับอัตรา ได้แก่
- อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
- อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
- อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน
วิธีการขอรับสิทธิ์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
การขอรับสิทธิ์นั้น ท่านที่ขอรับจะต้องไม่เคยได้รับสิทธิสวัสดิการอื่นๆ จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น เงินบำนาญ ท่านสามารถยืนคำขอรับสิทธิได้ด้วยตัวเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้แก่ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น โดยช่องทางในการรับเงินผู้สูงอายุนี้มีด้วยกัน 4 ช่องทาง ได้แก่
- รับเป็นเงินสดด้วยตัวเอง
- ให้ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจรับแทน
- โอนเข้าบัญชีของผู้สูงอายุ
- โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้สูงอายุ
เช็คสิทธิ์เบี้ยความพิการ
เบี้ยความพิการ – คนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ เบี้ยความพิการ คนละ 500 บาท/เดือนได้ ซึ่งแต่เดิม เฉพาะคนพิการที่ไม่มีรายได้เท่านั้น จึงจะมีสิทธิได้รับ เบี้ยยังฃีพ เดือนละ 500 บาท นอกจากนั้น คนพิการที่สูงอายุ หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับทั้ง เบี้ยความพิการ และ เบี้ยผู้สูงอายุ รวมเดือนละ 1,000 บาท
- ผู้มีสิทธิที่มีข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 1,898,357 ราย
- คนพิการที่ลงทะเบียนในกรุงเทพมหานคร 87,359 ราย
- คนพิการที่ลงทะเบียนในเมืองพัทยา 1,286 ราย
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ www.dep.go.th หรือโทร 0-2354-3388 ต่อ 307
ข้อมูลการจดทะเบียนคนพิการ
คนพิการที่ประสงค์จะจดทะเบียนคนพิการ เพื่อนำ “ สมุดประจำตัวคนพิการ ” ไปขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต้องดำเนินการ ดังนี้
สถานที่จดทะเบียน – คนพิการต้องไปจดทะเบียนคนพิการที่สถานที่ต่อไปนี้
- สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 628 2518 – 9
- สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน
เอกสารที่คนพิการต้องนำไปยื่นที่สถานที่จดทะเบียน ได้แก่
- เอกสารรับรองความพิการ – ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
- ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- การจดทะเบียนแทน – ถ้าคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้มอบผู้อื่นไปจดทะเบียนแทน โดยผู้จดทะเบียนแทน ต้องนำเอกสารสำหรับต่อไปนี้ไปสถานที่จดทะเบียน
- เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการในข้อ 2 ทั้งหมด
เอกสารของผู้จดทะเบียนแทน ได้แก่
- ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
- คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
- สมุดประจำตัวคนพิการ – คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อนึ่ง สมุดประจำตัวคนพิการมีอายุ 5 ปี เมื่อหมดกำหนดต้องไปจดทะเบียนใหม่ ถ้าสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความไปขอยื่นจดทะเบียนใหม่
กรณีที่เงินไม่เข้า หรือ เช็คว่ามีสิทธิ์รับเงินหรือไม่
ในวันที่ 4 ก.ค. 63 ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์สิทธิสวัสดิการสังคมเพื่อเช็คสิทธิ์บัตรคนจนด้วยบัตรประชาชน โดยมีวิธีตรวจสอบง่ายๆดังนี้
เข้าไปที่ เว็บสิทธิสวัสดิการสังคม จากนั้นกดตรจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม
จากนั้น กรอกเลขบัตรประชาชน ของท่านแล้วกดปุ่มตรวจสอบ หากท่านไม่มีข้อมูลสามารถ ติดต่อกระทรวงการคลังได้ที่เบอร์ Call Center โทร 02-127-7000, 02-270-6400
กรณีท่านที่ไม่เคยลงทะเบียน
หากท่านไหนไม่เคยลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยตนเอง ที่ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th โดยให้ท่านไปคลิกที่เมนู ตรวจสอบประวัติการรับสวัสดิการ หรือคลิกที่รูปด้านล่าง